SalvatorTech x BU จัดกิจกรรม “Fundamental temi development” เพื่อพัฒนา Software Developer รุ่นใหม่
จากความร่วมมือทางวิชาการ หรือ MOU ระหว่าง สาขาคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Salvator Tech นำมาสู่ ความร่วมมือในการจัดการแสดงระหว่างนักศึกษา และหุ่นยนต์เป็นครั้งแรกในไทย ในชื่อ Princess: Diary The Future Forest ในซึ่งจัดแสดงในงาน Open House BU 2022 & Creative Open Night
ปัจจุบัน Salvator Tech Co., Ltd และมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับภาคการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ซึ่งจะกลายเป็นกำลังสำคัญด้านเทคโนโลยีที่จะพัฒนาประเทศชาติในอนาคต จึงนำมาสู่การจัดกิจกรรม Workshop เพื่อดึง ศักยภาพในตัวนักศึกษาให้ถึงขีดสุดในชื่อ
“Fundamental temi development”
กิจกรรมจัดอบรมสำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ AI และโค้ดดิ้งหุ่นยนต์ temi โดยเฉพาะ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 มกราคม 2566 ณ BU Robot Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยเนื้อหาการ Workshop จะแบ่งออกเป็นภาคเช้า ซึ่งเป็นเนื้อหาพื้นฐาน และภาคบ่าย เป็นเนื้อหาแบบเจาะลึก และเน้นการลงมือทำจริง ซึ่งไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่นักศึกษาในสาขาวิชาอื่นๆ ยังสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย
temi สุดยอดหุ่นยนต์ AI อัจฉริยะที่ Salvator tech เลือกนำมาสอนโค้ดดิ้ง
temi คือหุ่นยนต์ AI อัจฉริยะที่ทีม Salvator Tech เลือกใช้ในการ Workshop ครั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ทดลองฝึกโค้ดดิ้ง เนื่องจากมี ฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การโต้ตอบสื่อสารกับคนได้ การเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติผ่านการ Mapping พื้นที่ รองรับการเชื่อมต่อ Wifi และ5G และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หุ่นยนต์ temi รองรับแอปพลิเคชัน และการปรับแต่งซอฟต์แวร์ทุกรูปแบบตามความต้องการในการใช้งาน ทำให้ปัจจุบัน หุ่นยนต์ temi ได้รับความนิยม ในหลายประเทศ และได้รับบทบาทหน้าที่มากมาย เช่น eNurse หุ่นยนต์ผู้ช่วยพยาบาล eRoute หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย หุ่นยนต์ผู้ช่วยครู และ หุ่นยนต์พนักงานต้อนรับในร้านค้า เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของกิจกรรม Fundamental temi development
อาจารย์ ณัฐปคัลภ์ ลิไชยกุล อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพกล่าวว่า อาจารย์อยากให้นักศึกษาได้มีโอกาส เพิ่มความรู้ความสามารถ และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ ในการเรียนรู้ด้านการโค้ดดิ้ง และที่สำคัญที่สุดคือ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับหุ่นยนต์ temi ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ AI ที่มีความทันสมัยกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
และสิ่งที่ทำให้อาจารย์รู้สึกประทับใจมากที่สุดคือ การได้เห็นนักศึกษาลองผิดลองถูก แม้นักศึกษาหลายคนต้องเจอปัญหา และอุปสรรคระหว่างทาง แต่นั่น คือการเรียนรู้ และไม่มีอะไรสำเร็จได้ในครั้งแรก นักศึกษาจำเป็นต้องเจอปัญหาอีกหลายครั้งในอนาคต ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการใช้งาน android studio, developer kit ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับหุ่นยนต์ temi และหุ่นยนต์อื่นๆ ในอนาคต
เนื้อหาการสอนในกิจกรรม Fundamental temi development
ในการ Workshop จะจัดขึ้นเป็นเวลา 1 วันเต็ม โดยแบ่งออกเป็นภาคเช้า และภาคบ่าย ดังต่อไปนี้
แนะนำการใช้งานระบบของ temi ทั้งหมดซึ่งแบ่งออกเป็นหลายส่วนดังนี้
- temi Mapping
- temi center
- - Map Editor
- - Controlling Remotely
- - Sequence
- - Home Screen
- - Greet Mode
- - Battery Setting
- temi SDK
- - SDK Release Info
- - Getting started with temi SDK
- - Installing & Uninstalling
- - Follow Mode
- - Movement
- - Speech
- - User & Telepresence
สอนเนื้อหาที่เจาะลึกเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ temi SDK เช่น
- 1. แนะนำ SDK เวอร์ชันปัจจุบัน
- 2. การเริ่มพัฒนาด้วย SDK ต้องทำอย่างไร?
- 3. การนำแอปพลิเคชันที่ทำขึ้นมาทำงานบน temi
- 4. การพัฒนา Softwareด้วย SDK ให้ควบคุมหุ่นยนต์ เช่น การสั่งให้เดินตาม การแสดงผลแผนที่ระบบนำทาง
คุณวรวุฒิ ตัวแทนทีม Software Delveloper ของเราเล่าว่า แม้ว่าน้องๆ นักศึกษาแต่ละคนจะมีพื้นฐานไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่น้องๆ ทุกคนมีเหมือนกันคือพื้นฐาน การใช้ภาษา Kotlin ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชัน แต่สิ่งที่ทำให้ทีมเราประทับใจมากที่สุดคือความมุ่งมั่นใจตั้งของน้องๆ นักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่อยากจะยกระดับขีดความสามารถของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทีมเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรม Workshop ที่เราตั้งใจนำ มาสอนน้องๆ ในครั้งนี้จะกลายเป็นเสี้ยวเล็กๆ ในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของน้องๆ นักศึกษา ในอนาคต
เสียงตอบรับจากนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
แม้ว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดกิจกรรม และไม่มีเวลาในการโปรโมทมากนัก แต่กลับได้รับความสนใจจากนักศึกษาถึง 20 กว่าคน ทำให้เรารู้ว่ามีนักศึกษาให้ ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ทีม Salvator Tech ยังได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม หลายคนให้ความเห็นว่าสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพราะความน่ารัก และความอัจฉริยะของน้อง temi ที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ พูดคุยสื่อสารกับผู้คนได้ ทั้งยังรองรับการปรับแต่งซอฟต์แวร์รูป แบบต่างๆ และน้องๆ ยังเชื่ออีกด้วยว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยต่อยอดความรู้ความสามารถในเส้นทางอาชีพที่สนใจอยู่ เช่น Game Developer และ Software Developer เป็นต้น